เกสวชาดก ชาดกว่าด้วยความคุ้นเคยเป็นรสอันยอดเยี่ยม

นารทอำมาตย์ได้สอบถามอาการของเกสวดาบส "ท่านหายจากโรคได้อย่างไรกัน ขนาดพระเจ้าพาราณสีทรงพาแพทย์มาดูแลรักษาท่านถึง ๕ คน ยังไม่สามารถทำให้ท่านหายได้" "เราดื่มยาคูลที่หุงด้วยข้าวฟ้างและลูกเดือยอันระคนด้วยผักที่ราดด้วยน้ำ ซึ่งไม่เค็มและไม่ได้อบกลิ่น อาหารจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับบุคคลที่คุ้นเคยกัน แล้วบริโภคในที่ใดการบริโภคในที่นั้นแหละดี เพราะรสทั้งหลายมีความคุ้นเคยเป็นเยี่ยม" เกสวดาบสตอบ https://dmc.tv/a26544

บทความธรรมะ Dhamma Articles > นิทานชาดก 500 ชาติ
[ 20 ต.ค. 2563 ] - [ ผู้อ่าน : 18270 ]

ชาดก 500 ชาติ

เกสวชาดก-ชาดกว่าด้วยความคุ้นเคยเป็นรสอันยอดเยี่ยม

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
  
        ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภโภชนแห่งผู้คุ้นเคยกันจึงตรัสพระธรรมเทศนาดังนี้
อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นผู้ชอบถวายทานแด่พระภิกษุเป็นนิจ ที่เรือนของอานาถบิณฑิกเศรษฐีนั้น มีภัตตาหารเตรียมไว้สำหรับถวายภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นประจำ
เปรียบเสมือนบ่อน้ำของภิกษุสงฆ์ เรืองรองด้วยผ้ากาสาวพัสตร์ คราคล่ำด้วยหมู่ฤาษีผู้แสวงบุญ
 
อานาถบิณฑิกเศรษฐีได้ถวายถัตตาหารแด่ภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นประจำทุกวัน
 
อานาถบิณฑิกเศรษฐีได้ถวายถัตตาหารแด่ภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นประจำทุกวัน
 
        “ ข้าขอน้อมถวายภัตตาหารเหล่านี้แด่พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ” อยู่มาวันหนึ่งพระราชาทรงกระทำประทักษิณพระนครอยู่นั้น ได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุสงฆ์
ในบ้านของอานาบิณฑิกเศรษฐี “ ที่บ้านอานาถบิณฑิกเศรษฐีมีงานอะไรกันรึ ถึงได้มีพระสงฆ์มากมายขนาดนี้ ” “ อานาถบิณฑิกเศรษฐีถวายภัตตาหารแด่ภิกษุ
๕๐๐ รูป เช่นนี้เป็นประจำพระเจ้าค่ะ ” “ ดีล่ะ ถ้าอย่างนั้นเราก็อยากจะถวายภัตตาหาร ๕๐๐ รูปเป็นประจำบ้างเหมือนกัน ”
 
พระราชาสงสัยยิ่งนักที่เห็นภิกษุจำนวนมากมายังบ้านของอานาถบิณฑิกเศรษฐี
 
พระราชาสงสัยยิ่งนักที่เห็นภิกษุจำนวนมากมายังบ้านของอานาถบิณฑิกเศรษฐี
 
        พระราชารู้ว่าอานาถบิณฑิกเศรษฐีทำบุญด้วยการถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นประจำ ทรงต้องการทำเช่นนั้นบ้าง จึงเสด็จไปยังวิหารเชตวัน
เพื่อนมัสการพระศาสดา “ กราบนมัสการพระศาสดา ต่อไปหม่อมฉันจะถวายภัตตาหารแด่ภิกษุ ๕๐๐ รูปทุก ๆ วัน พระเจ้าค่ะ ” นับแต่นั้นพระราชาก็ทรงเริ่ม
ตั้งภัตตาหารแก่ภิกษุ ๕๐๐ ในพระราชนิเวศน์เป็นประจำ ซึ่งภัตตาหารเหล่านั้นล้วนเป็นอาหารรสเลิศ โดยให้ข้าหลวงเป็นผู้จัดถวายอาหารรสเลิศเหล่านั้น

ภิกษุจำนวน ๕๐๐ รูปมารับภัตตาหารในพระราชนิเวศน์แต่ก็นำภัตตาหารนั้นไปฉันที่อื่น
 
ภิกษุจำนวน ๕๐๐ รูปมารับภัตตาหารในพระราชนิเวศน์แต่ก็นำภัตตาหารนั้นไปฉันที่อื่น
 
        “ ภัตตาหารพวกนี้ พระราชาเป็นผู้ถวาย เชิญภิกษุทั้งหลายฉันภัตตาหารเหล่านี้เถิด ” “ ขอบใจท่านมาก ถ้าอย่างนั้นเราเอาภัตตาหารนี้ไปละนะ ”
“ ท่านจะเอาภัตตาหารนี่ไปไหนรึ ” “ เราไม่คุ้นกับการฉันในรั้วในวังนะสิ ” ภิกษุทั้งหลายมารับภัตตาหารในพระราชนิเวศน์แต่ไม่ปรารถนาที่จะนั่งฉัน
ในที่นั้น ต่างก็รับเอาภัตตาหารมีรสเลิศต่าง ๆ เหล่านั้น แล้วก็ไปยังบ้านอุปัฏฐากของตน

ภิกษุได้นำอาหารที่รับมาจากในวังมอบให้แก่อุปัฏฐากของตน
 
ภิกษุได้นำอาหารที่รับมาจากในวังมอบให้แก่อุปัฏฐากของตน
 
       ให้ภัตตาหารที่ได้รับจากในวังแก่พวกอุปัฏฐากเหล่านั้น แล้วพากันฉันภัตตาหารที่อุปัฏฐากเหล่านั้นถวาย “ นี่เป็นอาหารจากในวัง พวกเจ้าเอาไปกินกันเถอะ ”
“ โอ้โหอาหารนี่น่ากินทั้งนั้นเลย ลาภปากของเราแท้ ๆ ” วันหนึ่งมีผู้นำผลไม้จำนวนมากมาถวายพระราชา พระองค์จึงรับสั่งให้ข้าหลวงนำผลไม้เหล่านั้นไปถวาย
แด่ภิกษุสงฆ์ เมื่อข้าหลวงไปถึงโรงภัตตาหารก็ไม่พบเห็นภิกษุสักรูปเดียว จึงกลับไปกราบทูลพระราชา “ ที่โรงภัตตาหารไม่มีภิกษุสักรูปเลยพระเจ้าค่ะ ”
 
ข้าหลวงนำผลไม้มาถวายที่โรงภัตแต่ก็ไม่เจอภิกษุแม้แต่รูปเดียว
 
ข้าหลวงนำผลไม้มาถวายที่โรงภัตแต่ก็ไม่เจอภิกษุแม้แต่รูปเดียว
 
        “ เจ้าแน่ใจอย่างนั้นรึ หรือว่านี่ยังไม่ถึงเวลาฉันภัตตาหารกระมัง ” “ ภิกษุทั้งหลายมารับภัตตาหารแล้ว กลับไปแล้วพระเจ้าค่ะ ” พระราชาทรงทราบเรื่อง
ที่ภิกษุทั้งหลายมารับภัตตาหารในวังของพระองค์ แล้วนำไปยังบ้านของอุปัฏฐากผู้คุ้นเคย แล้วให้ภัตตาหารกับอุปัฏฐากเหล่านั้น แล้วฉันภัตตาหารที่อุปัฏฐาก
เหล่านั้นถวาย “ ภิกษุเหล่านั้นรับภัตตาหารแล้ว ก็นำไปให้บ้านอุปัฏฐาก แล้วฉันภัตตาหารที่อุปัฏฐากถวายแทนพระเจ้าค่ะ ”
 
ข้าหลวงนำเรื่องที่ตนไม่เจอภิกษุในโรงภัตมากราบทูลต่อพระราชา
 
ข้าหลวงนำเรื่องที่ตนไม่เจอภิกษุในโรงภัตมากราบทูลต่อพระราชา
 
       “ เอ้ ภัตตาหารที่เราถวายก็เป็นอาหารรสเลิศ ทำไม่ภิกษุทั้งหลายจึงทำเช่นนั้นนะ ” เมื่อเกิดความสงสัยพระราชาจึงเสด็จไปเข้าเฝ้าพระศาสดาที่พระวิหารเชตวัน
ทรงนมัสการแล้วจึงทูลถามเรื่องนั้น “ ข้าแต่องค์พระศาสดา เพราะเหตุอันใดกัน ภิกษุทั้งหลายจึงไม่ฉันภัตตาหารที่หม่อมฉันถวายละพระเจ้าค่ะ ” “ มหาบพิตร
ธรรมดาการบริโภคโภชน มีความคุ้นเคยกันสำคัญยิ่ง เพราะในพระราชวังของพระองค์ ไม่มีผู้เข้าไปทำความคุ้นเคย แล้วให้ด้วยความสนิทสนม
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาตรัสเล่าให้พระราชาได้ฟัง
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาตรัสเล่าให้พระราชาได้ฟัง
     
        ภิกษุทั้งหลายจึงรับภัตตาหารแล้วฉันในที่แห่งคนผู้มีความคุ้นเคยแก่ตน แม้บัณฑิตในสมัยก่อนทั้งหลาย ครั้นเมื่อโรคเกิดขึ้น เมื่อพระราชา แม้ทรงพาหมอ
ทั้ง ๕ ตระกูลไปให้กระทำยา โรคก็ไม่สงบ แต่เมื่อได้ไปยังสำนักของคนผู้คุ้นเคยกัน บริโภคยาคูลอันทำด้วยข้าวฟ้างและลูกเดือย ซึ่งไม่เค็มและผัก ซึ่งราดด้วย
สักแต่ว่าน้ำเปล่า ไม่มีรสเค็ม ก็หายโรค ” ครั้นพระราชาทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาทกดังนี้
 
พระโพธิสัตย์ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ นามว่า กัปปกุมาร
 
พระโพธิสัตย์ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ นามว่า กัปปกุมาร
 
       ในอดีตกาลเมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตย์ได้บังเกิดในตระกลูพราหมณ์ ณ กาสิกรัฐ นามว่า กัปปกุมาร “ กัปปกุมารลูกพ่อ
ดูสิ นับวันเจ้าช่างน่ารักน่าเอ็นดูเหลือเกิน อืม ” เมื่อกัปปกุมารเจริญวัยแล้ว เรียนศิลปะทุกอย่างในเมืองตักศิลา ภายหลังได้บวชเป็นฤาษีและเป็นศิษย์เอกของ
เกสวดาบส ซึ่งมีศิษย์ ๕๐๐ รูป อัธยาศัยใจคอของกัปปดาบสนั้นเป็นที่ถูกใจของเกสวดาบส ทำให้ดาบสทั้งสองสนิทสนมคุ้นเคยกันยิ่งนัก
 
กัปปกุมารออกบวชเป็นฤาษีและได้เป็นศิษย์เอกของเกสวดาบส
 
กัปปกุมารออกบวชเป็นฤาษีและได้เป็นศิษย์เอกของเกสวดาบส
 
        “ ฮะฮ่า ดีเลย กัปปดาบส นิสัยเจ้าถูกใจข้านัก ต่อไปเจ้าจะเป็นศิษย์เอกของเรา ” วันหนึ่งเกสวดาบสได้พาดาบสทั้งหลายเข้าไปในเมืองเพื่อขออาหาร เมื่อเดินทาง
มาถึงพาราณสีแล้วจึงพักอยู่ในพระราชอุทยาน “ คืนนี้เราจะพักกันที่นี่ พรุ่งนี้เราจะเข้าไปในเมืองกัน ” “ ขอรับอาจารย์ ” วันรุ่งขึ้นดาบสทั้งหลายก็เข้าไปสู่พระนคร
เพื่อขออาหาร เมื่อไปถึงประตูพระราชวัง พระราชาทรงเห็นดาบสเหล่านั้น จึงให้ข้าหลวงไปนิมนต์มา แล้วถวายภัตตาหารให้ฉันภายในพระราชนิเวศน์

เกสวดาบสได้พาเหล่าศิษย์เข้ามาในเมืองเพื่อขออาหาร
 
เกสวดาบสได้พาเหล่าศิษย์เข้ามาในเมืองเพื่อขออาหาร
  
        และทรงอาราธนาให้พักอยู่ในพระราชอุทยานในช่วงฤดูฝน “ เชิญพวกท่าน ฉันอาหารที่เราจัดถวายเถิด ” “ ของพระทัยพระเจ้าค่ะ ” “ นี่ก็เข้าหน้าฝนแล้ว
เชิญพวกท่านพักอยู่ในพระราชอุทยานตลอดน่าฝนนี้เถิด ” ครั้นเมื่อล่วงกาลฤดูฝนแล้ว เกสวดาบสได้ทูลอำลาพระราชากลับไปยังหิมวันตประเทศ พระราชา
ทรงของให้เกสวดาบสพักอยู่ต่อ ให้ส่งดาบสอื่น ๆ กลับไปยังหิมวันตประเทศก่อน “ ท่านเป็นผู้เฒ่าอายุมากแล้ว เชิญพักอยู่ที่นี่ต่อเถิด ”
 
พระราชาได้ถวายภัตตาหารแก่เกสวดาบสและเหล่าศิษย์    

พระราชาได้ถวายภัตตาหารแก่เกสวดาบสและเหล่าศิษย์
 
        “ ก็ดีเหมือนกัน ถ้าอย่างนั้นฝากท่านกัปปดาบสช่วยดูและศิษย์คนอื่น ๆ ของเราด้วย ” กัปปดาบสเดินทางกลับไปยังหิมวันตประเทศพร้อมกับดาบสทั้งหลาย
ฝ่ายเกสวดาบสนั้นเมื่ออยู่เหินห่างกัปปดาบสก็รู้สึกรำคาญใจ คิดถึงผู้ที่คุ้นเคยกันไม่เป็นอันหลับนอน “ ตอนนี้กัปปดาบสกับดาบสอื่น ๆ จะเป็นอย่างไรบ้างนะ
ข้าอยากพบเขาจริง ๆ ”

พระราชาได้อาราธนาให้เกสวดาบสพักอยู่ในพระราชนิเวศน์ต่อไปในช่วงฤดูฝน
 
พระราชาได้อาราธนาให้เกสวดาบสพักอยู่ในพระราชนิเวศน์ต่อไปในช่วงฤดูฝน
  
        เมื่อเกสวดาบสคิดถึงสหายจนนอนไม่หลับ นานเข้าก็ล้มป่วย เกิดทุกขเวทนาเป็นอย่างยิ่ง พระราชาทรงพาแพทย์มาทำการรักษาถึง ๕ คน ก็ไม่สามารถ
รักษาให้หายได้ “ ท่านหมออาการของเกสวดาบสเป็นอย่างไรบ้าง ” “ หม่อมฉันไม่รู้สาเหตุของโรค จึงไม่สามารถรักษาได้พระเจ้าค่ะ ”

เกสวดาบสได้ล้มป่วยลงเหตุเพราะคิดถึงกัปปดาบสและเหล่าศิษย์ของตน
 
เกสวดาบสได้ล้มป่วยลงเหตุเพราะคิดถึงกัปปดาบสและเหล่าศิษย์ของตน
 
        พระราชาทรงถามเกสวดาบสถึงสาเหตุที่ทำให้ล้มป่วย เกสวดาบสบอกสาเหตุทั้งหมด แล้วจึงทูลขอให้ส่งตนกลับไปยังหิมวันตประเทศ “ พระองค์ทรงอยาก
ให้หม่อมฉันตาย หรืออยากให้หายจากโรคพระเจ้าค่ะ ” “ เราอยากให้ท่านหายจากโรคแน่นอน” “ ถ้าเช่นนั้นโปรดส่งหม่อมฉันกลับไปยังหิมวันตประเทศเถิด ”
“ ถ้าเช่นนั้นเราจะทำตามประสงค์ของท่านก็แล้วกัน ”
 
หมอได้แจ้งให้พระราชาทรงทราบว่าตนไม่สามารถรักษาเกสวดาบสให้หายจากโรคได้
 
หมอได้แจ้งให้พระราชาทรงทราบว่าตนไม่สามารถรักษาเกสวดาบสให้หายจากโรคได้
 
        เมื่อรู้ถึงสาเหตุที่ทำให้เกสวดาบสล้มป่วยแล้ว พระราชาทรงให้นารทอำมาตย์ตามไปส่งเกสวดาบสยังหิมวันตประเทศพร้อมกับพวกกับพวกพรานป่า
“ นารทอำมาตย์ ท่านจงไปส่งท่านดาบสยังหิมวันตประเทศเถิด ” “ พระเจ้าค่ะ ” นารทอำมาตย์นำเกสวดาบสไปส่งยังหิมวันตประเทศแล้วจึงกลับมา
ฝ่ายเกสวดาบสเมื่อพอได้เห็นกัปปดาบสเท่านั้น โรคทางใจก็สงบ ความรำคาญใจก็ระงับไป

พระราชาได้ดูแลและสอบถามอาการป่วยของเกสวดาบส
 
พระราชาได้ดูแลและสอบถามอาการป่วยของเกสวดาบส
 
        ลำดับนั้นกัปปดาบสได้ให้ยาคูลที่หุงด้วยข้าวฟ้างและลูกเดือยพร้อมกับผักต้มแก่เกสวดาบส โรคของเกสวดาบสก็ทุเลาลงทันที “ ท่านฉันอาหารเหล่านี้
เสียก่อนเถิด ” “ ขอบใจท่านมาก เราคิดถึงที่นี่เหลือเกิน ” ฝ่ายนารทอำมาตย์นั้นเมื่อกลับมาถึงพระนครพระราชาก็ทรงส่งไปดูอาการของเกสวดาบสอีกครั้ง
ด้วยความเป็นห่วง “ ท่านอำมาตย์ เรารู้สึกเป็นห่วงเกสวดาบสเหลือเกิน ท่านช่วยไปยังหิมวันประเทศอีกครั้ง และก็กลับมาส่งข่าวแก่เราด้วยเถิด ”
 
เกสวดาบสกลับมายังหิมวันตประเทศและได้รับการดูแลจากกัปปดาบสจนหายป่วย
 
เกสวดาบสกลับมายังหิมวันตประเทศและได้รับการดูแลจากกัปปดาบสจนหายป่วย
 
       “ พระเจ้าค่ะ ” เมื่อนารทอำมาตย์ไปถึงหิมวันตประเทศแล้ว สอบถามอาการของเกสวดาบส แล้วก็พบว่าเกสวดาบสนั้นหายจากโรคแล้ว “ เป็นอย่างไรละ
ท่านดาบส ดูท่าทางท่านสดชื่นขึ้นมากเลยนะ ” “ ขอบใจท่านมากที่เป็นห่วง เราหายจากโรคร้ายนั่นแล้วละ ” “ ท่านหายจากโรคได้อย่างไรกัน ขนาดพระเจ้า
พาราณสีทรงพาแพทย์มาดูแลรักษาท่านถึง ๕ คน ยังไม่สามารถทำให้ท่านหายได้
 
พระราชาได้ให้นารทอำมาตย์ตามไปดูอาการป่วยของเกสวดายังหิมวันตประเทศอีกครั้ง
 
พระราชาได้ให้นารทอำมาตย์ตามไปดูอาการป่วยของเกสวดายังหิมวันตประเทศอีกครั้ง
 
        แล้วนี้กัปปดาบสทำให้ท่านหายจากโรคได้อย่างไรกัน ” “ กัปปดาบสทำให้เรายินดีอยู่อย่างนี้ จึงให้เราดื่มยาคูลที่หุงด้วยข้าวฟ้าง และลูกเดือยอันระคนด้วยผัก
ที่ราดด้วยน้ำ ซึ่งไม่เค็มและไม่ได้อบกลิ่น พยาธิในร่างกายของเราก็สงบระงับเพราะข้าวยาคูลนั้น เราเป็นผู้หายโรคแล้ว ” “ ทำไมท่านถึงพอใจข้าวฟ้างและลูกเดือย
มากกว่าอาหารที่พระราชาถวายละ ”

นารทอำมาตย์ได้สอบถามถึงเหตุที่ทำให้เกสวดาบสหายป่วยได้อย่างน่าอัศจรรย์
 
นารทอำมาตย์ได้สอบถามถึงเหตุที่ทำให้เกสวดาบสหายป่วยได้อย่างน่าอัศจรรย์
 
        “ อาหารจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับบุคคลที่คุ้นเคยกัน แล้วบริโภคในที่ใด การบริโภคในที่นั้นแหละดี เพราะรสทั้งหลายมีความคุ้นเคยเป็นเยี่ยม ” นารทอำมาตย์
ได้ฟังดังนั้นแล้วจึงเดินทางกลับไปกราบทูลพระราชาตามที่เกสวดาบสบอกกล่าว พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า
 
 
 
พระราชาในครั้งนั้น ได้กำเนิดเป็น พระอานนท์
นารทอำมาตย์ กำเนิดเป็น พระสารีบุตร
เกสวดาบส กำเนิดเป็น พวกมหาพรหม
กัปปดาบส เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า

 
 




พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ธัมมัทธชชาดก ชาดกว่าด้วยพูดอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง
      เกฬิสีลชาดก ชาดกว่าด้วยปัญญาสำคัญกว่าร่างกาย
      ปานียชาดก ชาดกว่าด้วยการทำบาปแล้วรังเกียจบาปที่ทำ
      ชนสันธชาดก ชาดกว่าด้วยเหตุที่ทำจิตให้เดือดร้อน
      ฆตาสนชาดก ชาดกว่าด้วยภัยที่เกิดจากที่พึ่ง
      มหาสุวราชชาดก ชาดกว่าด้วยความพอเพียง
      ฌานโสธนชาดก ชาดกว่าด้วยสุขเกิดจากสมาบัติ
      สุนักขชาดก ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้
      สังวรมหาราชชาดก ชาดกว่าด้วยพระราชาผู้มีศีลาจารวัตรที่ดีงาม
      อสัมปทานชาดก ชาดกว่าด้วยการไม่รับของทำให้เกิดการแตกร้าว
      สัจจังกิรชาดก ชาดกว่าด้วยไม้ลอยน้ำดีกว่าคนอกตัญญู
      สัมโมทมานชาดก ชาดกว่าด้วยพินาศเพราะทะเลาะกัน
      อภิณหชาดก ชาดกว่าด้วยการเห็นกันบ่อยๆ