การันทิยชาดก ชาดกว่าด้วยการทำที่เหลือวิสัย

“ พระคุณท่านคนเหล่านั้นเขาไม่ได้รักษาศีล ดังที่รับศีลไว้เลยนะขอรับ ” “ แต่นี้ต่อไปขอพระธรรมเสนาบดี จงหยุดให้ศีลแก่ผู้ไม่พอใจรับอีกเลย พวกพรานใจบาป นักเลงหัวขโมยพวกนั้น ไม่อาจขัดขืนถ้อยคำพระเถระเจ้า จึงรับศีลไป แต่จิตใจมิได้ยอมรับตามเลยแม้แต่น้อย ” ศิษย์ทั้งหลายของพระสารีบุตรกล่าวขอดังนี้อยู่หลายครั้ง แต่มิได้ทำให้การศีลหยุดลงแต่ประการใด “ ไม่เป็นไรหรอกรับศีลไปทุกวัน สักวันหนึ่งเขาก็คงประพฤติปฏิบัติศีลได้เอง https://dmc.tv/a26369

บทความธรรมะ Dhamma Articles > นิทานชาดก 500 ชาติ
[ 28 ส.ค. 2563 ] - [ ผู้อ่าน : 18269 ]

ชาดก 500 ชาติ

การันทิยชาดก-ชาดกว่าด้วยการทำที่เหลือวิสัย

พระสารีบุตรเถระอัครสาวกเบื้องขวา

พระสารีบุตรเถระอัครสาวกเบื้องขวา
  
       ครั้งหนึ่งในพุทธกาลสมัยยังมีเรื่องราวอันเป็นเหตุให้ต้องบอกบอกศีล สอนธรรมะแก่ฆราวาสผู้ครองเรือนขึ้นในพระเชตวันอารามหลวงแห่งสาวัตถี
เพื่อไม่ให้ภิกษุสงฆ์กระทำสิ่งอันเหลือวิสัยนั้น ปฐมเหตุเรื่องนี้เกิดขึ้นในกรุงราชคฤห์ ซึ่งพระสารีบุตรเถระได้เจริญธรรมสั่งสอนศิษย์และโปรดชาวมคธ
อยู่ที่นั้น
 
เหล่าภิกษุสงฆ์ได้ขอร้องให้พระสารีบุตรเถระเลิกให้ศีลแก่<a href=http://www.dmc.tv/search/สาธุชน title='สาธุชน' target=_blank><font color=#333333>สาธุชน</font></a>ที่ไม่ได้ตั้งใจที่จะอาราธนาศีลจริง ๆ
 
เหล่าภิกษุสงฆ์ได้ขอร้องให้พระสารีบุตรเถระเลิกให้ศีลแก่สาธุชนที่ไม่ได้ตั้งใจที่จะอาราธนาศีลจริง ๆ
 
       พระธรรมเสนาบดีมีเมตตาสูงจึงให้ศีลแก่ชาวเมืองโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ที่สำคัญคือ ท่านไม่ได้เลือกอาชีพของคนเหล่านั้นเลย คนไร้คุณธรรม
เช่นนักพนันและนักเลงดุร้ายจึงปฏิเสธการรับศีลจากพระสารีบุตรไม่ได้
 
กรุงราชคฤห์
 
กรุงราชคฤห์
 
       “ ก็เพราะเคารพและเกรงใจท่านนี้แหละ เลยยอมเสียสละแล่เนื้อกวางเลยนะเนี่ย ” “ ฮ่า ฮ่า ฮ่า ข้าเองก็เหมือนกันหยุดหาเรื่องชาวบ้าน มาฟังธรรม
จากพระเถระ เกรงใจท่าน อุตส่าห์มาโปรด ” ภิกษุสงฆ์ในสำนักท่านรู้ว่าคนเหล่านั้นรับศีลแล้วไม่รักษายังคงทำบาปกรรมอยู่ต่อไปจึงไม่อาจนิ่งเฉยได้

สะใภ้สาวได้ดูแลมารดาของสามีเป็นอย่างดี
 
พระสารีบุตรได้ให้ศีลกับทุกคนโดยไม่เลือกชนชั้นและอาชีพ
 
      “ พระคุณท่านเหล่านั้นเขาไม่ได้รักษาศีล ดังที่รับศีลไว้เลยนะขอรับ ” “ แต่นี้ต่อไปขอพระธรรมเสนาบดี จงหยุดให้ศีลแก่ผู้ไม่พอใจรับอีกเลย พวกพรานใจบาป
นักเลงหัวขโมยพวกนั้น ไม่อาจขัดขืนถ้อยคำพระเถระเจ้า จึงรับศีลไป แต่จิตใจมิได้ยอมรับตามเลยแม้แต่น้อย ”
 
เหล่าภิกษุสงฆ์ได้คุยกันถึงเรื่องที่พระธรรมเสนาบดีบอกศีลให้กับคนใจบาป
 
เหล่าภิกษุสงฆ์ได้คุยกันถึงเรื่องที่พระธรรมเสนาบดีบอกศีลให้กับคนใจบาป
 
       ศิษย์ทั้งหลายของพระสารีบุตรกล่าวขอดังนี้อยู่หลายครั้ง แต่มิได้ทำให้การศีลหยุดลงแต่ประการใด “ ไม่เป็นไรหรอกรับศีลไปทุกวัน สักวันหนึ่ง
เขาก็คงประพฤติปฏิบัติศีลได้เอง ” พระเถระผู้เลิศทางปัญญายังยังคงมีเมตตาบอกศีลแก่คนทั่วไปอยู่เช่นนั้น
 
พระศาสดาทรงตรัสเล่า การันทิยชาดก ให้แก่เหล่าภิกษุสงฆ์ในโรงธรรมสภา
 
พระศาสดาทรงตรัสเล่า การันทิยชาดก ให้แก่เหล่าภิกษุสงฆ์ในโรงธรรมสภา
 
      “ จงเป็นคฤหัตถ์รักษาศีล ปฏิบัติพระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด ”  “ พระเจ้าค่ะ ” เมื่อสงฆ์สาวกจาริกมาสู่พระอารามใหญ่เชตวันยังโกศลรัฐ ในกาลต่อมา
เรื่องการบอกศีลแก่เหล่าชนผู้ไม่ต้องการศีลของพระธรรมเสนาบดีฝ่ายขวาก็เป็นที่โจษจันสันทนาการขึ้นในโรงธรรมสภา
 
พราหมณ์หนุ่มการันทิยะ
 
พราหมณ์หนุ่มการันทิยะ
 
       “ อาตมาขอบิณฑบาตไว้ แต่มหาเถระก็ไม่ฟัง เฮ้อ ” อันเมื่อความปรากฎต่อพระกรรณสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ธรรมศาลาในพระเชตวันมหาวิหาร
พระองค์ก็ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณตรัสว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลายแม้ในการก่อน สารีบุตรนี้ก็เคยให้ศีลแก่คนที่ประสบพบเห็น แม้ไม่ได้ขอศีลนั้นมาแล้ว
 
พราหมณ์หนุ่มการันทิยะผู้แตกฉานสรรพวิทยาและไตรเพท
 
พราหมณ์หนุ่มการันทิยะผู้แตกฉานสรรพวิทยาและไตรเพท
     
       แล้วองค์พระศาสดาก็ทรงตรัสเล่า การันทิยชาดกขึ้นดังนี้ ” ในอดีตชาติหนึ่งยังมีบุตรพราหมณ์มีนามว่า การันทิยะ เจริญวัยขึ้นในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์
และแตกฉานสรรพวิทยาและไตรเพทคัมภีร์พราหมณ์ตั้งแต่ยังหนุ่ม การันทิยะเป็นที่ไว้วางใจของอาจารย์ทิศาปาโมกข์อย่างยิ่ง
 
พราหมณ์หนุ่มการันทิยะได้เลื่อนอันดับเป็นหัวหน้าของคณะศิษย์อาจารย์ทิศาปาโมกข์
 
พราหมณ์หนุ่มการันทิยะได้เลื่อนอันดับเป็นหัวหน้าของคณะศิษย์อาจารย์ทิศาปาโมกข์
 
       ต่อมาจึงได้เลื่อนอันดับเป็นอันเตวาสิกะ คือเป็นหัวหน้าคณะศิษย์ทั้งปวง “ หลักคำสอนนี้ เป็นอย่างนี้นี่เอง พระธรรมช่วยทำให้จิตใจเราสงบสุขได้แท้ ๆ 
ศิษย์ผู้นี้ยังได้รับความเมตตาได้ร่ำเรียนมนต์พิธีจนสามารถอ่านพระเวทเป็นเจ้าพิธีกรรมแทนอาจารย์อยู่เนื่อง ๆ
 
อาจารย์ทิศาปาโมกข์ได้ให้ศีลกับทุกคนโดยไม่เลือกว่าคนเหล่านั้นจะนำไปปฏิบัติได้หรือไม่
 
อาจารย์ทิศาปาโมกข์ได้ให้ศีลกับทุกคนโดยไม่เลือกว่าคนเหล่านั้นจะนำไปปฏิบัติได้หรือไม่
 
       เพราะในวัยชราอาจารย์ทิศาปาโมกข์ต้องการปลีกตัวจาริกไปในที่ต่าง ๆ เพื่อบอกศีลแก่หมู่ชนนั้นเอง และการออกไปบอกศีลแก่หมู่ชนนั้นเอง กลายเป็นเหตุ
ให้คณะศิษย์ซึ่งนำโดยการันทิยะต้องขอร้องไม่ให้ท่านกระทำอีก “ คนไม่มีคุณธรรมเหล่านั้นไม่ต้องการศีลหรอก อาจารย์โปรดอย่าให้ศีลแก่พวกเขาเลย
 
การันทิยะได้ขอร้องให้อาจารย์ทิศาปาโมกข์เลิกบอกการให้ศีลแก่ผู้ที่ไม่ตั้งใจจะรับศีลจริงๆ
 
การันทิยะได้ขอร้องให้อาจารย์ทิศาปาโมกข์เลิกบอกการให้ศีลแก่ผู้ที่ไม่ตั้งใจจะรับศีลจริงๆ
  
       คนเหล่านั้นเลี้ยงชีพด้วยการฆ่าสัตว์ จับสัตว์และลักขโมย บางคนปล้นชิงทำร้ายผู้อื่น เขาจำใจรับศีลเพราะเกรงบารมีอาจารย์แท้ ๆ ” “ เจ้าค่ะ รับศีลเจ้าค่ะ ฮิ ฮิ
รับแล้วไปล่าสัตว์ต่อ นี่แหละชีวิตพรานอย่างเรา ” “ แม้หมู่ชนบางคนจะยอมรับศีลอย่างตั้งใจสมาทาน ดังคำให้ศีลที่อาจารย์พร่ำบอก จงรับศีลเถิด จงรับศีลเถิด
ก็เป็นเพียงแต่หน้าเท่านั้น ”
 
พรานทั้งหลายรับศีลแล้วก็เข้าป่าล่าสัตว์ตามปกติ    

พรานทั้งหลายรับศีลแล้วก็เข้าป่าล่าสัตว์ตามปกติ
 
       “ กระผมรับศีลเจ้าค่ะ ต่อจากนี้ไปก็จะประพฤติตามศีลที่รับไว้ขอรับ…..( รับ ๆ ไว้ก่อนอยู่ต่อหน้ากันอย่างนี้ต้องรับไว้ก่อน ) ” “ กระทั่งบางคนแม้งดเว้นอาหารเย็น
ถือศีลอุโบสถได้ก็เป็นเพียงคนน้อยนิด เพราะอาชีพของเหล่าชนทั้งหลายล้วนต้องเอาเปรียบเบียดเบียนผู้อื่นเพื่ออาชีพตนจึงมิอาจรับศีลได้จริง ๆ

อาจารย์ทิศาปาโมกข์ยังคงบอกศีลให้คนทั่วไปโดยไม่เลือกวรรณะและอาชีพ
 
อาจารย์ทิศาปาโมกข์ยังคงบอกศีลให้คนทั่วไปโดยไม่เลือกวรรณะและอาชีพ
  
       ศิษย์ทั้งหลายเห็นดังนี้จึงกราบขอให้ท่านงดให้ศีลแก่ผู้ไม่ได้อาราธนา ขอเถิด ” แต่การันทิยะก็ผิดหวังเพราะอาจารย์ทิศาปาโมกข์ไม่ได้ตอบรับ กลับยืนกราน
ที่จะให้ศีลแก่ทุก ๆ คนที่พบเห็นต่อไป  “ ไม่ได้หรอกการให้ศีลให้พรก็ถือเป็นงานของอาจารย์ อาจารย์อยากให้ทุกคนเหล่านั้นรับศีลด้วยใจจริงของเขาสักวัน ”
 
การันทิยะพยายามเกลี้ยกล่อมให้อาจารย์ทิศาปาโมกข์เลิกบอกการให้ศีล
 
การันทิยะพยายามเกลี้ยกล่อมให้อาจารย์ทิศาปาโมกข์เลิกบอกการให้ศีล
 
       การบอกศีลแก่คนทั้งหลายดำเนินไปได้ไม่นานนัก การันทิยะก็สบโอกาสทำอุบายได้ในวันหนึ่ง วันนั้นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ต้องอยู่บูชาไฟในสำนัก “ การันทิยะเอ๋ย
อย่ามัวแต่ห่วงเรื่องให้ศีลเลย เธอจงนำศิษย์ของเราไปทำพิธีกรรมในหมู่บ้านแทนอาจารย์เถิด ”
 
อาจารย์ทิศาปาโมกข์มอบหมายให้การันทิยะไปทำพิธีกรรมในหมู่บ้านแทนตน
 
อาจารย์ทิศาปาโมกข์มอบหมายให้การันทิยะไปทำพิธีกรรมในหมู่บ้านแทนตน
 
       เมื่อการันทิยะนำศิษย์ในสำนักไปทำพิธีพราหมณ์แก่ผู้อาราธนาเอาไว้จบสิ้นแล้ว ขากลับได้เดินผ่านเชิงเขาจุดหนึ่ง “ เอ๊ะ เหวลึก โอ้ดีจริง ๆ เรามีอุบาย
ให้อาจารย์หยุดบอกศีลแก่คนทุศีลพวกนั้นแล้ว ” พราหมณ์หนุ่มสั่งคณะศิษย์หยุดพักเพื่อคัดเลือกขอบเหวลึกได้จุดหนึ่ง

การันทิยะได้นำเหล่าศิษย์มาหยุดพักริมหุบเหวแห่งหนึ่ง
 
การันทิยะได้นำเหล่าศิษย์มาหยุดพักริมหุบเหวแห่งหนึ่ง
 
       “ ตรงนี้แหละเหมาะที่จะทำตามอุบาย ” อุบายของการันทิยะคือ ขนเอาหินน้อยใหญ่ทิ้งลงในเหว “ โอ้ ท่านการันทิยะ ท่านเป็นอะไรไปแล้ว ขนหินไปถมลงเหว
ทำไมกัน ” “ ลูกพี่เฝ้าไว้อย่าให้ถึงกับกระโดดเหวนะ เดี๋ยวข้าจะรีบไปตามอาจารย์มาดู เฝ้าไว้ให้ดี ๆ ล่ะ ”
 
การันทิยะได้นำก้อนหินทิ้งลงในหุบเหว
 
การันทิยะได้นำก้อนหินทิ้งลงในหุบเหว
 
       “ ได้สิ ๆ เจ้าก็เร็ว ๆ เข้าเถิด ” “ อาจารย์ อาจารย์ครับศิษย์พี่เป็นอะไรไม่รู้ครับ ช่วยด้วยครับ ” อีกไม่นานต่อมาอาจารย์ทิศาปาโมกข์ถูกตามมาถึงปากเหว
ที่การันทิยะกำลังถมหินลงไป “ หยุด หยุดก่อน หยุดซะเถิดการันทิยะ นั่นเธอเป็นอะไรไปรึ เหตุใดถึงนำหินไปถมในเหวอย่างนั้น ”
 
พระศาสดาทรงตรัสเล่าเรื่องของอุบาสกที่เกิดขึ้นในอดีตชาติซึ่งมีเหตุแบบเดียวกับในปัจจุบัน
 
ศิษย์น้องการันทิยะได้เดินทางกลับไปตามอาจารย์ทิศาปาโมกข์เพื่อมาดูการกระทำที่แปลกไปของการันทิยะ
 
       “ อาจารย์ศิษย์เพียงอยากให้เหวนี้ตื้นขึ้น ราบเรียบเสมอแผ่นดินเท่านั้นเองขอรับ จึงพยายามถมโดยการทิ้งหินลงไป หวังว่าสักวันก็คงจะทำสำเร็จ ”
“ ฮึ ฮึ ยากนักเจ้าการันทิยะเอ๋ย เจ้าคนเดียวทำอยู่ทั้งชาติก็ไม่อาจทำได้ มันยากนักนะศิษย์เอ๋ยจงหยุดเสียเถิด ”

อาจารย์ทิศาปาโมกข์ได้ห้ามศิษย์ของตนไม่ให้ทิ้งก้อนหินลงไปในหุบเหว
 
อาจารย์ทิศาปาโมกข์ได้ห้ามศิษย์ของตนไม่ให้ทิ้งก้อนหินลงไปในหุบเหว
 
       “ ถ้าเช่นนั้นก็เหมือนกันกับสิ่งที่อาจารย์ทำแก่คนทั่วไป ทั้งที่รู้ว่า ไม่อาจช่วยทุก ๆ คนไปยอมรับปฏิบัติได้ทั้งหมด อุปมาก็ดุจกันกับขนก้อนหินไปถมเหวกระนั้น ”
“ อืม เช่นนี้นี่เองอาจารย์เข้าใจแล้ว ขอบใจเจ้านะที่คิดอุบายเปรียบเทียบขึ้นมา ” “ ต่อไปอาจารย์บอกศีลเฉพาะสาธุชนที่อาราธนาขอใช่ไหมขอรับ ”
 
การันทิยะบอกอาจารย์ว่าตนทิ้งหินเพื่อต้องการให้หุบเหวเสมอราบเรียบกับพื้นดิน
 
การันทิยะบอกอาจารย์ว่าตนทิ้งหินเพื่อต้องการให้หุบเหวเสมอราบเรียบกับพื้นดิน
 
      “ ดูก่อนการันทิยะเอ๋ย เราลืมสัจจะแห่งโลกไปข้อหนึ่ง คือแผ่นดินนั้นมนุษย์ไม่อาจทำให้ราบเรียบได้ทั้งหมดฉันใด เราก็ไม่อาจให้มนุษย์ทั้งหลายให้รู้จัก
เข้าใจอำนาจแห่งศีลได้ทั้งหมดฉันนั้น ”
 
การันทิยะเรียนอาจารย์ว่าการกระทำของเขาก็เฉกเช่นเดียวกับการบอกศีลของอาจารย์
 
การันทิยะเรียนอาจารย์ว่าการกระทำของเขาก็เฉกเช่นเดียวกับการบอกศีลของอาจารย์
 
       เมื่อครบวาระกรรมในโลกมนุษย์ครั้งนั้น พราหมณ์ทั้งหลายก็ไปจุติในพรมโลก ด้วยอานิสงส์แห่งศีลสุดท้ายแห่งกงล้อวัฏสงสาร
 
อาจารย์ทิศาปาโมกข์กล่าวแผ่นดินไม่อาจราบเรียบเสมอกัน คนทั้งหลายก็ไม่อาจเข้าใจอำนาจแห่งศีลได้ทั้งหมดฉันนั้น
 
อาจารย์ทิศาปาโมกข์กล่าวแผ่นดินไม่อาจราบเรียบเสมอกัน คนทั้งหลายก็ไม่อาจเข้าใจอำนาจแห่งศีลได้ทั้งหมดฉันนั้น
 
ในพุทธกาลต่อมาอาจารย์ทิศาปาโมกข์ กำเนิดเป็น พระสารีบุตร
ศิษย์พราหมณ์ทั้งหลาย กำเนิดเป็น พระภิกษุสงฆ์
การัยทิยะพราหมณ์ เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า


รับชมคลิปวิดีโอการันทิยชาดก ชาดกว่าด้วย การทำที่เหลือวิสัย
ชมวิดีโอการันทิยชาดก ชาดกว่าด้วย การทำที่เหลือวิสัย   Download ธรรมะการันทิยชาดก ชาดกว่าด้วย การทำที่เหลือวิสัย
 
 




พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ธัมมัทธชชาดก ชาดกว่าด้วยพูดอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง
      เกฬิสีลชาดก ชาดกว่าด้วยปัญญาสำคัญกว่าร่างกาย
      ปานียชาดก ชาดกว่าด้วยการทำบาปแล้วรังเกียจบาปที่ทำ
      ชนสันธชาดก ชาดกว่าด้วยเหตุที่ทำจิตให้เดือดร้อน
      ฆตาสนชาดก ชาดกว่าด้วยภัยที่เกิดจากที่พึ่ง
      มหาสุวราชชาดก ชาดกว่าด้วยความพอเพียง
      ฌานโสธนชาดก ชาดกว่าด้วยสุขเกิดจากสมาบัติ
      สุนักขชาดก ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้
      สังวรมหาราชชาดก ชาดกว่าด้วยพระราชาผู้มีศีลาจารวัตรที่ดีงาม
      อสัมปทานชาดก ชาดกว่าด้วยการไม่รับของทำให้เกิดการแตกร้าว
      สัจจังกิรชาดก ชาดกว่าด้วยไม้ลอยน้ำดีกว่าคนอกตัญญู
      สัมโมทมานชาดก ชาดกว่าด้วยพินาศเพราะทะเลาะกัน
      อภิณหชาดก ชาดกว่าด้วยการเห็นกันบ่อยๆ