เนรุชาดก ชาดกว่าด้วยอานุภาพของเนรุบรรพต

หงส์สองพี่น้องได้บินท่องเที่ยวผ่านไปทางภูเขาเนรุบรรณพต ซึ่งเนรุบรรพตแห่งนี้เป็นภูเขาวิเศษสัตว์ใด ๆ ก็ตามเมื่อเข้ามาอยู่ที่นี่จะมีสีสันสวยงาม ดั่งทองทุกตัว “ น้องเอ๋ย สัตว์สกุลใดจิตและพฤติกรรมก็ย่อมเป็นไปตามสัญชาติญาณ ตนไม่อาจเปลี่ยนสีได้อย่างภายนอกหรอก ” หงส์ผู้พี่ได้กล่าวกับน้องของตน https://dmc.tv/a28604

บทความธรรมะ Dhamma Articles > นิทานชาดก 500 ชาติ
[ 10 ต.ค. 2565 ] - [ ผู้อ่าน : 18267 ]

ชาดก 500 ชาติ

เนรุชาดก-ชาดกว่าด้วยอานุภาพของเนรุบรรพต

ณ ดินแดนชมพูทวีปดินแดนแห่ง<a href=http://www.dmc.tv/search/พระพุทธศาสนา title='พระพุทธศาสนา' target=_blank><font color=#333333>พระพุทธศาสนา</font></a>

ณ ดินแดนชมพูทวีปดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา
  
       ครั้งเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปักธงชัยขึ้นในชมพูทวีป พระอริยสัตว์อันกระจ่างจริงพิสูจน์ได้มีผลชัด ก็กลายเป็นสิ่งยึดเหนี่ยว
ที่มหาชนพากันชื่นชมศรัทธาอย่างที่สุด ส่งสาวกทางพระพุทธศาสนาจาริกไปที่แห่งใดที่แห่งนั้นจะกลายเป็นสถานที่อันวิเศษ
 
สาวกแห่งองค์สมเด็จพระศาสดาได้พากันแยกย้ายพากันจาริกไปยังสถานที่ต่าง ๆ
 
สาวกแห่งองค์สมเด็จพระศาสดาได้พากันแยกย้ายพากันจาริกไปยังสถานที่ต่าง ๆ
 
        เป็นที่รวมเหล่าศรัทธาได้อย่างน่าอัศจรรย์ ภิกษุบวชใหม่รูปหนึ่งออกธุดงค์ไปยังหมู่บ้านแห่งหนึ่ง แล้วได้ทำรุขมูลปฏิบัติอยู่ใน
หมู่บ้านแห่งนั้น “ ที่นี่ช่างสงบเหมาะแก่การปฏิบัติธรรมยิ่งนัก เอาล่ะ เรานั่งวิปัสสนาใต้ต้นไม้ใหญ่นี่ดีกว่า ”

ภิกษุหนุ่มได้ออกธุดงค์ไปยังหมู่บ้านแห่งหนึ่ง
 
ภิกษุหนุ่มได้ออกธุดงค์ไปยังหมู่บ้านแห่งหนึ่ง
 
        ภิกษุหนุ่มปฏิบัติธรรมอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่อย่างเคร่งครัด ชาวบ้านที่ผ่านมาพบเห็นก็เกิดเลื่อมในอิริยาบทของภิกษุรูปนี้จึงคิดจะสร้างบรรณศาลา
ถวาย “ ดูสิ ภิกษุรูปนี้กิริยาท่าทางช่างน่าเลื่อมใสยิ่งนัก ” “ ข้าว่าเราสร้างบรรณศาลาในหมู่บ้านให้ท่านใช้ปฏิบัติธรรมดีกว่า ” 

ชาวบ้านได้ผ่านมาพบเห็นได้บังเกิดความเลื่อมใสในตัวของภิกษุหนุ่ม
 
ชาวบ้านได้ผ่านมาพบเห็นได้บังเกิดความเลื่อมใสในตัวของภิกษุหนุ่ม
 
      วันหนึ่งหลังจากที่ภิกษุบวชใหม่เดินจงกลมเสร็จ นายบ้านของหมู่บ้านแห่งนั้นก็เข้ามากราบนิมนต์ “ อาราธนาท่านผู้เจริญ ” “ เจริญพรโยม
มีอะไรรึ ” “ กระผมและชาวบ้านนิคมนี้เห็นวัตรปฏิบัติของท่านแล้วก็เกิดศรัทธายิ่งนัก จึงได้ช่วยกันสร้างบรรณศาลาถวาย

ชาวบ้านได้อาราธนาภิกษุหนุ่มไปพำนักยังหมู่บ้านของพวกตน
 
ชาวบ้านได้อาราธนาภิกษุหนุ่มไปพำนักยังหมู่บ้านของพวกตน
 
        ขอพระคุณเจ้าเก็บเครื่องบริขารไปใช้เป็นเสนาสนะจนพ้นฤดูพรรษาเถิด ” ภิกษุหนุ่มรับนิมนต์แล้วจึงย้ายไปปฏิบัติธรรมยังบรรณศาลา
ที่ชาวบ้านสร้างถวาย ยิ่งผ่านไปหลายวันชาวบ้านก็ยิ่งชื่นชมในอิริยาบทงดงามของภิกษุรูปนี้
 
 
ภิกษุหนุ่มได้มาพำนักยังบรรณศาลาที่ชาวได้สร้างถวาย
 
ภิกษุหนุ่มได้มาพำนักยังบรรณศาลาที่ชาวได้สร้างถวาย 
        
       การถวายภัตตาหารคาวหวานทั้งเช้าและเพลก็มิได้ขัดสน คณะศรัทธาพากันเปลี่ยนเวียนกันนำมาถวายมิได้ขาด “ พรุ่งนี้ท่าน
อยากฉันอะไรก็บอกได้นะครับ ” “ อะไรก็ได้แล้วแต่โยมเถิด เมื่อเราครองเพศบรรพชิตแล้วย่อมไม่เลือกอาหาร ”

 
ชาวบ้านต่างพากันนำภัตตาหารหวานคาวมาถวายแด่ภิกษุหนุ่ม
 
ชาวบ้านต่างพากันนำภัตตาหารหวานคาวมาถวายแด่ภิกษุหนุ่ม
 
       “ งั้นพวกเรามาทำหลาย ๆ อย่างดีกว่า ท่านจะได้เลือกฉันได้ ” ย่ำสนธยาชาวบ้านต่างพากันมาฟังพระธรรมเทศนาเป็นประจำทุกคืน
ซึ่งภิกษุหนุ่มก็บรรยายตามคำสอนของพระพุทธองค์ได้ไม่ผิดเพี้ยน แต่ความไม่เพียรย่อมเกิดขึ้นได้ทุกขณะ
 
ชาวบ้านได้พากันมาฟังธรรมจากภิกษุหนุ่ม
 
ชาวบ้านได้พากันมาฟังธรรมจากภิกษุหนุ่ม
     
        การดำเนินพระธรรมเทศนาที่มีขึ้นทุกค่ำคืนนั้นก็เริ่มเสื่อมความนิยมลงไป “ วันนี้ข้าทำงานเหนื่อยทั้งวัน คืนนี้ว่าจะนอนแต่หัวค่ำ
คงไม่ได้ไปฟังธรรมแล้วล่ะ ” “ ข้าก็เหมือนกัน ฟังธรรมจนเริ่มเบื่อแล้วอยู่ฟังเมียบ่นบ้างดีกว่า ”
 
เมื่อเวลาผ่านไปเนิ่นนานชาวบ้านก็เริ่มมีความเบื่อหน่ายในการที่จะไปฟังธรรม
 
เมื่อเวลาผ่านไปเนิ่นนานชาวบ้านก็เริ่มมีความเบื่อหน่ายในการที่จะไปฟังธรรม
 
        ข่าวการอุปัฏฐากพระสงฆ์ของคนในหมู่บ้านครั้งนี้ได้แพร่ออกไปทั่วทำให้นักบวชคณะอื่น ๆ ถือโอกาสเดินทางเข้ามาในหมู่บ้าน
เพื่อกอบโกยผลประโยชน์จากชาวบ้าน เริ่มจากพวกสัสตวาสที่ชุมนุมกันอยู่ทั่วไปนอกนครสาวัตถีและชายแดนโกศลรัฐ
 
พวกนักบวชลัทธิสัสตวาทได้เดินทางมายังหมู่บ้านเพียงหวังในลาภสักการะ
 
พวกนักบวชลัทธิสัสตวาทได้เดินทางมายังหมู่บ้านเพียงหวังในลาภสักการะ
 
       “ เชิญท่านนักบวชมาพำนักในบรรณศาลาก่อน ” “ ฮิ ฮิ สบายจริง ๆ มีที่พักแล้วยังมีอาหารดีดีให้กินอีกด้วย ” “ อย่าตะกละให้ชัดเจน
นักสหายเดี๋ยวชาวบ้านจะสงสัยในความเป็นนักบวชของเรา ” ชาวบ้านได้ต้อนรับสัสตวาสไว้ที่เดียวกันกับภิกษุเถรวาท

นักบวชลัทธิสัสตวาทได้พำนักร่วมกับภิกษุหนุ่มยังบรรณศาลาหลังเดียวกัน
 
นักบวชลัทธิสัสตวาทได้พำนักร่วมกับภิกษุหนุ่มยังบรรณศาลาหลังเดียวกัน
  
        และทำการนับถือกราบไหว้แทนเถรวาท “ คำสอนของเราคือ ยึดอัตตาเป็นสรณะเอาตัวตนเป็นหลักทั้งโลกนี้และโลกหน้า ”
“ หือ น่าเลื่อมใส ต่อไปพวกเราทั้งหลายจะหันถวายสักการะพวกท่านกันทั้งหมด ” 
ต่อมาเมื่อคณะอุจเฉทวาทผ่านมา

ชาวบ้านต่างพากันมาฟังคำสอนจากนักบวชลัทธิสัสตวาท    

ชาวบ้านต่างพากันมาฟังคำสอนจากนักบวชลัทธิสัสตวาท
 
        ชาวบ้านก็เชิญชวนให้มาอาศัยยังบรรณศาลาและพากันนับถือแทนลัทธิสัสตวาสอีก “ เชิญท่านนักบวชพักผ่อนดื่มกินกันให้เต็มที่เลย ”
“ หลักปฏิบัติของลัทธิเราคือยึดอัตตาตัวเองแค่ชาตินี้เท่านั้น ” “ ยึดอัตตาตัวเองแค่ชาตินี้เท่านั้น ดีกว่าหวังชาติหน้าที่มองไม่เห็น
 
ชาวบ้านต่างพากันเปลี่ยนมานับถือเชื่อมั่นในคำสอนของลัทธิสัสตวาทแทนคำสอนในพระพุทธศาสนา
 
ชาวบ้านต่างพากันเปลี่ยนมานับถือเชื่อมั่นในคำสอนของลัทธิสัสตวาทแทนคำสอนในพระพุทธศาสนา
  
       พวกข้านับถือท่านนักบวชยิ่งนัก ”  แม้แต่พวกอเจลกวาทชีเปลือยศิษย์พระมหาวีระต่างก็ได้รับการต้อนรับดูแลเป็นอย่างดีจากชาวบ้าน
“ ฮ่า ฮ่า ฮ่า ชาวบ้านพวกนี้ช่างโง่เขลานัก ดูสิกราบไหว้พวกเราราวกับเป็นเทพเจ้าแน่ะ ” “ นั่นสิ นักบวชอย่างเราได้รับการยกย่อง


พวกชาวบ้านได้เปลี่ยนมานับถือและฟังคำสอนของพวกอเจลกวาทชีเปลือยศิษย์พระมหาวีระ
 
พวกชาวบ้านได้เปลี่ยนมานับถือและฟังคำสอนของพวกอเจลกวาทชีเปลือยศิษย์พระมหาวีระ
 
        และได้อาศัยร่วมสำนักกับศิษย์พระศากยโคดมเชียว ฮะ ฮ่า ฮ่า ” ในขณะที่นักบวชอื่น ๆ ต่างพึงพอใจที่ได้อาศัยใต้ชายคาเดียวกับ
สาวกของพระศาสดา ภิกษุหนุ่มกลับต้องจำยอมอยู่อย่างไม่สงบใจในสำนักร่วมกับนักบวชเหล่านี้


ภิกษุหนุ่มจำยอมต้องพักอาศัยร่วมกับนักบวชลิทธิต่าง ๆ ภายในบรรณศาลาเดียวกัน
 
ภิกษุหนุ่มจำยอมต้องพักอาศัยร่วมกับนักบวชลิทธิต่าง ๆ ภายในบรรณศาลาเดียวกัน
 
       “ หลวงพี่ไม่สนใจมานั่งร่วมวงฉันข้าวกับพวกข้ารึ ” “ เป็นบุญของพวกข้าจริง ๆ ที่ได้อยู่ร่วมชายคากับศิษย์พระศากยโคดม ” ครั้นออกพรรษา
ปวารนาแล้วภิกษุหนุ่มจึงได้ออกจากเสนาสนะนั้นกลับไปเฝ้าสมเด็จพระพุทธศาสดา ณ พระเชตวันมหาวิหาร
 
พระศาสดาทรงตรัสเล่าอดีต<a href=http://www.dmc.tv/articles/jataka.html title='นิทานชาดก' target=_blank><font color=#333333>นิทานชาดก</font></a>ให้กับเหล่าภิกษุทั้งหลายได้รับฟัง
 
พระศาสดาทรงตรัสเล่าอดีตนิทานชาดกให้กับเหล่าภิกษุทั้งหลายได้รับฟัง
 
        และกราบทูลสิ่งที่เกิดขึ้นให้ทรงวินิจฉัย สมเด็จพระพุทธศาสดาสดับเหตุดังกล่าวแล้วทรงตรัสว่า “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบัณฑิต
ในอดีตกาลก่อนแม้กำเนิดในสกุลต่ำทรามยังไม่ยอมอยู่ร่วมกับผู้ไร้คุณธรรมแม้สักวันเดียว ”
 
นครพาราณสี ณ ภูเขาจิตกูฏ
 
นครพาราณสี ณ ภูเขาจิตกูฏ
 
       เมื่อเหล่าสาวกทรงทูลประทานขอให้ทรงเล่านั้น ก็ทรงสาทกเนรุชาดกดังนี้ ในอดีตชาติเมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติ
อยู่ในนครพาราณสี ณ ภูเขาจิตกูฏปลายทุ่งข้าวสาลีริมป่าหิมพานต์ยังมีหงส์ทองครอบครัวหนึ่งอาศัยอยู่
 
หงส์สองพี่น้องได้บินท่องเที่ยวไปในป่าหิมพานต์
 
หงส์สองพี่น้องได้บินท่องเที่ยวไปในป่าหิมพานต์
 
       วันหนึ่งขณะหงส์สองพี่น้องกำลังบินท่องเที่ยวอยู่หิมพานต์ได้เห็นสีสันสวยงามทอประกายมาจากภูเขาลูกหนึ่งไกลๆ “ ท่านพี่ดูนั่นสิ
ภูเขาลูกนั้นสีทองเหลืองอร่ามสวยงามจริง ๆ ” “ ภูเขาที่มีสีทองประกายสวยงามลูกนั้นนะรึ อือ ต้องมีอะไรแน่ ๆ ลองบินไปดูกันดีกว่า ”
 
หงส์สองพี่น้องได้บินผ่านมายังภูเขาเนรุบรรพต
 
หงส์สองพี่น้องได้บินผ่านมายังภูเขาเนรุบรรพต

        ด้วยความสงสัยพญาหงส์และหงส์ผู้น้องจึงบินไปยังภูเขาลูกนั้น เมื่อเข้าไปใกล้พญาหงส์ผู้พี่รำลึกได้ว่าภูเขาลูกนี้คือเนรุบรรณพตนั้นเอง
“ ท่านพี่ดูสิ สัตว์ที่นี่ต่างมีสีสันดังทองงดงามนัก ” “ เนรุบรรพตแห่งนี้เป็นภูเขาวิเศษสัตว์ใด ๆ ก็ตาม

สัตว์ต่างๆ ที่อาศัยในภูเขาเนรุบรรพตจะมีสีสันดั่งทองคำทุกตัว
 
สัตว์ต่างๆ ที่อาศัยในภูเขาเนรุบรรพตจะมีสีสันดั่งทองคำทุกตัว

       เมื่อเข้ามาอยู่ที่นี่จะมีสีสันสวยงามดั่งทองทุกตัว ” เหล่านกแร้ง นกกา หมาใน หมาจิ้งจอก แมวป่า ตะกวด อีกทั้งเสือสางต่าง ๆ
พากันมาชุมนุมกันมากมายเพราะชื่อเสียงของเนรุบรรพตแห่งนี้ สัตว์ทุกตัวเมื่อเข้ามาอยู่ในอาณาเขตเนรุบรรพตแห่งนี้

อีกาตัวดำก็มีสีทองเมื่อมาอาศัยยังภูเขาเนรุบรรพต

อีกาตัวดำก็มีสีทองเมื่อมาอาศัยยังภูเขาเนรุบรรพต
 
       ต่างมีสีกายเป็นสีทองงดงามทุกตัว “ กา กา ไม่ได้มีแค่หงส์ทอง กาอย่างข้าก็ยังสีทองได้ ” “ ราชสีห์ก็ราชสีห์เหอะ หมาจิ้งจอกสีทอง
อย่างข้าก็ดูสง่าไม่แพ้กันละน่า ” “ โอ้โหแม้แต่หนูสกปรกเมื่ออยู่ที่นี่ยังดูสวยงามปานนั้น ” “ น้องเอ๋ย  สัตว์สกุลใด
 
หนูที่ตัวสกปรกมอมแมมก็มีสีดั่งทองคำเมื่อมาอยู่ในภูเขาเนรุบรรพต
 
หนูที่ตัวสกปรกมอมแมมก็มีสีดั่งทองคำเมื่อมาอยู่ในภูเขาเนรุบรรพต
 
       จิตและพฤติกรรมก็ย่อมเป็นไปตามสัญชาติญาณตนไม่อาจเปลี่ยนสีได้อย่างภายนอกหรอก ” “ เจ้ากา เจ้าขโมยแก้ว
จากรังของข้ารึ เจ้านี่มันขี้ขโมยจริงๆ ” “ ใครจะขโมยของเจ้า เจ้าหนูสกปรก ใครจะขโมยของเจ้ากัน ”
 
หงส์ผู้พี่ได้กล่าวสอนน้องหงส์ของตน
 
หงส์ผู้พี่ได้กล่าวสอนน้องหงส์ของตน
 
       “ อีกาแม้ขนสวยดุจหงส์ทองแต่มิอาจเลิกนิสัยขโมย และหนูผู้สะสมของสกปรกก็มิอาจเปลี่ยนพฤติกรรมตามสีของมันเช่นกัน ”
“ จริงของท่านพี่ หมาไนและจิ้งจอกแม้ในรัศมีวิเศษของเนรุบรรพตก็มิอาจเลิกวิสัยสุนัขได้ ”
 
อีกากับหนูได้ทะเลาะกันเรื่องขโมยของ
 
อีกากับหนูได้ทะเลาะกันเรื่องขโมยของ
 
      “ เนรุบรรพตแห่งนี้แม้จะมีความวิเศษ แต่ก็ไม่สามารถทำให้สัตว์ดีเหมือนกันได้ สัตบุรุษนั้นไม่บังควรคบหาผู้ทุศีลเลย ”
และแล้วพญาหงส์ทั้งสองก็ชวนกันกลับไปยังเขาจิตกูฏอยู่กับหมู่หงส์ของตนต่อไป
 
สุนัขจิ้งจอกแม้อยู่ในรัศมีภูเขาเนรุบรรพตก็ไม่อาจเลิกนิสัยสุนัขได้
 
สุนัขจิ้งจอกแม้อยู่ในรัศมีภูเขาเนรุบรรพตก็ไม่อาจเลิกนิสัยสุนัขได้
 
       พระพุทธองค์ทรงจบพระธรรมเทศนานี้แล้ว ทรงประกาศสัจจธรรมให้ภิกษุนั้นดำรงโสดาปัตติผล 
 
หงส์สองพี่น้องได้บินกลับไปยังภูเขาจิตกูฏซึ่งเป็นที่พักอาศัยของตน
 
หงส์สองพี่น้องได้บินกลับไปยังภูเขาจิตกูฏซึ่งเป็นที่พักอาศัยของตน
 
ในพุทธกาลสมัย หงส์ผู้น้องกำเนิดเป็น พระอานนท์
พญาหงส์ผู้พี่เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า

 
 






พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ธัมมัทธชชาดก ชาดกว่าด้วยพูดอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง
      เกฬิสีลชาดก ชาดกว่าด้วยปัญญาสำคัญกว่าร่างกาย
      ปานียชาดก ชาดกว่าด้วยการทำบาปแล้วรังเกียจบาปที่ทำ
      ชนสันธชาดก ชาดกว่าด้วยเหตุที่ทำจิตให้เดือดร้อน
      ฆตาสนชาดก ชาดกว่าด้วยภัยที่เกิดจากที่พึ่ง
      มหาสุวราชชาดก ชาดกว่าด้วยความพอเพียง
      ฌานโสธนชาดก ชาดกว่าด้วยสุขเกิดจากสมาบัติ
      สุนักขชาดก ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้
      สังวรมหาราชชาดก ชาดกว่าด้วยพระราชาผู้มีศีลาจารวัตรที่ดีงาม
      อสัมปทานชาดก ชาดกว่าด้วยการไม่รับของทำให้เกิดการแตกร้าว
      สัจจังกิรชาดก ชาดกว่าด้วยไม้ลอยน้ำดีกว่าคนอกตัญญู
      สัมโมทมานชาดก ชาดกว่าด้วยพินาศเพราะทะเลาะกัน
      อภิณหชาดก ชาดกว่าด้วยการเห็นกันบ่อยๆ