โกสัมพิยชาดก ชาดกว่าด้วยอยู่คนเดียวดีกว่าร่วมกับคนพาล

“ ต่อไปพวกเราอย่าได้ไปกราบไหว้ภิกษุพวกนี้อีกนะ ” “ พวกเราจะไม่ถวายบิณฑบาตด้วย ทำแบบนี้ ภิกษุเหล่านี้จะได้สำนึกเสียบ้าง” เมื่อภิกษุเหล่านั้นถูกพวกอุบาสกลงทัณฑกรรมเช่นนั้นจึงสำนึกได้ พากันไปยังเมืองสาวัตถีกราบทูลขอขมาโทษต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า https://dmc.tv/a26462

บทความธรรมะ Dhamma Articles > นิทานชาดก 500 ชาติ
[ 25 ก.ย. 2563 ] - [ ผู้อ่าน : 18277 ]

ชาดก 500 ชาติ

กาสาวชาดก-ชาดกว่าด้วยผ้ากาสาวพัสตร์

พระธรรมกถึกรีบเดินเข้าห้องน้ำเพื่อไปทำธุระส่วนตัว

พระธรรมกถึกรีบเดินเข้าห้องน้ำเพื่อไปทำธุระส่วนตัว
  
        ในสมัยพุทธกาลเมื่อครั้งที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอาศัยเมืองโกสัมพี ประทับอยู่ ณ โคสิตาราม ทรงปรารภเหล่าภิกษุที่ทะเลาะกันในเมืองโกสัมพี
จึงตรัสเรื่องนี้ คราวนั้นภิกษุ 2 รูป คือ พระวินัยธรและพระธรรมกถึกอยู่ในอาวาสเดียวกัน วันหนึ่งพระธรรมกถึกถ่ายอุจจาระเหลือน้ำชำระไว้ในภาชนะแล้วก็ออกไป
 
พระวินัยธรมาเจอน้ำเหลือทิ้งไว้ในภาชนะหลังจากที่พระธรรมกถึกเพิ่งคล้อยหลังไป
 
พระวินัยธรมาเจอน้ำเหลือทิ้งไว้ในภาชนะหลังจากที่พระธรรมกถึกเพิ่งคล้อยหลังไป
 
        “ ไม่ไหวแล้ว ๆ ข้าศึกบุกมาประชิดประตูเมืองแล้ว ” เมื่อพระธรรมกถึกไปแล้ว พระวินัยธรเข้าไปในที่นั้นหลัง เห็นมีน้ำเหลืออยู่ในภาชนะ จึงออกมาถาม
พระธรรมกถึก “ เฮ้อ ค่อยโล่งหน่อย ” “ เมื่อกี้ท่านปลดทุกข์แล้วเหลือน้ำไว้หรือ ” “ ใช่แล้ว ข้าเหลือน้ำไว้ ” “ ท่านไม่รู้หรือว่าเป็นอาบัติ ”
 
พระวินัยธรได้อธิบายต่อพระธรรมกถึกว่าการเหลือน้ำไว้ในภาชนะเป็นอาบัติ
 
พระวินัยธรได้อธิบายต่อพระธรรมกถึกว่าการเหลือน้ำไว้ในภาชนะเป็นอาบัติ
 
        พระธรรมกถึกไม่รู้ว่าการเหลือน้ำไว้ในภาชนะนั้นเป็นอาบัติ ด้วยตนเป็นพระนักเทศน์ไม่ได้เชี่ยวชาญธรรมวินัย เหมือนพระวินัยธร “ ถ้าเป็นอาบัติ
ข้าก็จะปลงอาบัติ ” “ ถ้าท่านทำไปโดยไม่ได้ตั้งใจ ก็ไม่เป็นอาบัติหรอก ” เมื่อพระวินัยธรบอกเช่นนั้น พระธรรมกถึกก็เข้าใจว่า อาบัติที่ตนทำนั้น
ไม่เป็นอาบัติ

พระวินัยธรพูดกับศิษย์ของตนว่าพระธรรมกถึกทำอาบัติแล้วไม่ปลงอาบัติ
 
พระวินัยธรพูดกับศิษย์ของตนว่าพระธรรมกถึกทำอาบัติแล้วไม่ปลงอาบัติ
 
        ส่วนพระวินัยธรเมื่อกลับไปแล้วก็ได้บอกเรื่องนี้แก่ศิษย์ของตน “ พวกเจ้าอย่าเอาอย่างพระธรรมกถึกเชียวนะ ทำอาบัติแล้วไม่รู้ตัว ” “ ใช้ไม่ได้ ใช้ไม่ได้
จะมีใครเคร่งครัดเหมือนอาจารย์พวกเราอีก ” “ แหม แบบนี้มันต้องแซวกันหน่อยสะแล้ว แหะ ๆ ” 

ศิษย์ของพระวินัยธรพากันพูดล้อเลียนศิษย์ของพระธรรมกถึกที่มีพระอุปัชฌาย์ทำอาบัติ
 
ศิษย์ของพระวินัยธรพากันพูดล้อเลียนศิษย์ของพระธรรมกถึกที่มีพระอุปัชฌาย์ทำอาบัติ
 
        พวกศิษย์ของพระวินัยธรนั้น เมื่อเห็นพวกศิษย์ของพระธรรมกถึกผ่านมาก็พูดจาล้อเลียนเรื่องที่พระธรรมกถึกทำอาบัติ “ อุปัชฌาย์ของพวกเจ้าทำอาบัติ
แล้วยังไม่รู้ว่าเป็นอาบัติ ” “ พวกเจ้าอย่าทำอาบัติเหมือนอุปัชฌาย์ของพวกเจ้าละ ฮ่า ฮ่า ฮ่า ” “ หนอยเจ้าพวกนี้ ดูถูกอุปัชฌาย์ของเรา แบบนี้ยอมไม่ได้ ”
 
ศิษย์ของพระธรรมกถึกได้มารายงานว่าพวกตนถูกศิษย์พระวินัยธรพูดจาล้อเลียน
 
ศิษย์ของพระธรรมกถึกได้มารายงานว่าพวกตนถูกศิษย์พระวินัยธรพูดจาล้อเลียน
 
        พวกศิษย์ของพระธรรมกถึกได้ยินเช่นนั้นก็ไม่พอใจ จึงพากันไปบอกแก่อุปัชฌาย์ของตน “ อาจารย์ ๆ  พวกศิษย์พระธรรมวินัย เอาเรื่องที่ท่านทำอาบัติ
แล้วไม่รู้ตัว ไปพูดนินทากันสนุกปากเลยละ ” “ แบบนี้ยอมไม่ได้นะอาจารย์ ” “ พระวินัยธรจะเอายังไงกันแน่ ตอนแรกบอกไม่อาบัติ พอตอนนี้บอกเป็นอาบัติ ”
 
ศิษย์ของพระวินัยธรและศิษย์พระธรรมกถึกจะมีปากเสียงกันทุกครั้งที่ได้เจอกัน
 
ศิษย์ของพระวินัยธรและศิษย์พระธรรมกถึกจะมีปากเสียงกันทุกครั้งที่ได้เจอกัน
 
        เมื่อมีโอกาสเจอพวกศิษย์ของพระวินัยธรอีก ฝ่ายพวกศิษย์ของพระธรรมกถึกก็พูดจาตอบโต้บ้าง “ พวกเจ้าต้องศึกษาพระวินัยบ้างนะ ระวังจะเหมือนกับอุปัชฌาย์
ที่อาบัติแล้วยังไม่รู้ตัว ” “ พวกเจ้าก็เหมือนกัน อย่าทำตัวแบบอุปัชฌาย์เจ้าที่เป็นคนพูดเท็จละ ” “ อย่ามาพูดพล่อย ๆ นะ พวกเจ้ามาหาว่าอุปัชฌาย์พูดเท็จได้ยังไงกัน ”
 
อุบาสกและอุบาสิกาต่างแบ่งแยกออกเป็น 2 ฝ่ายเหตุเพราะพระวินัยธรและพระธรรมกถึกแตกแยกกัน
 
อุบาสกและอุบาสิกาต่างแบ่งแยกออกเป็น 2 ฝ่ายเหตุเพราะพระวินัยธรและพระธรรมกถึกแตกแยกกัน
     
        “ ทำไมจะไม่ได้ ตอนแรกบอกกับอุปัชฌาย์ข้าว่า ไม่เป็นอาบัติ แล้วกลับไปพูดกับพวกเจ้า ว่าเป็นอาบัติได้ยังไง ” ต่อแต่นั้นพระวินัยธรได้ช่อง
จึงทำอุกเขปนียกรรมยกโทษในการไม่เห็นอาบัตินั้น ตั้งแต่นั้นมาอุบาสก อุบาสิกาผู้ถวายปัจจัยแก่ภิกษุเหล่านั้นได้แบ่งเป็น 2 พวก
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบถึงเรื่องราวแตกสามัคคีที่เกิดขึ้นในหมู่สงฆ์
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบถึงเรื่องราวแตกสามัคคีที่เกิดขึ้นในหมู่สงฆ์
 
        ทั้งภิกษุณีผู้รับโอวาทก็ดี อารักขเทวาก็ดี กาสัฏฐกเทวดาที่เคยเห็นเคยคบกับอารักขเทวดาก็ดี ตลอดถึงพรหมโลก บรรดาที่เป็นปุถุชนได้แยกกันเป็น 2 พวก
ได้เกิดโกลาหลไปถึงภพอากนิษฐ์ “ พวกเราอย่าไปทำบุญร่วมกับพวกนับถือภิกษุที่ทำอาบัตินะ ” “ พวกข้า ก็ไม่อยากทำบุญร่วมกับพวกที่นับถือภิกษุพูดเท็จ
เหมือนกันนั้นละ ” 
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ส่งภิกษุสงฆ์มาระงับเหตุแตกความสามัคคีในหมู่สงฆ์
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ส่งภิกษุสงฆ์มาระงับเหตุแตกความสามัคคีในหมู่สงฆ์
 
        เวลาต่อมาภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระตถาคต เพื่อกราบทูลเรื่องความขัดแย้งของเหล่าภิกษุนั้นให้ทรงทราบ “ ตอนนี้เกิดเรื่องใหญ่แล้วพระเจ้าค่ะ ภิกษุทั้งหลาย
ได้แบ่งพรรคแบ่งพวกเป็นสองฝ่ายแล้วพระเจ้าค่ะ ” พระศาสดาได้ทรงทราบแล้ว จึงทรงส่งภิกษุไปแจ้งพุทธดำรัสให้ภิกษุทั้งหลายสามัคคีกัน แต่ก็ไม่เป็นผล

ภิกษุทั้งสองฝ่ายได้นั่งแยกกันฉันภัตโดยมีอาสนะกั้นกลางเอาไว้
 
ภิกษุทั้งสองฝ่ายได้นั่งแยกกันฉันภัตโดยมีอาสนะกั้นกลางเอาไว้
  
        “ ภิกษุทั้งหลายพวกท่านจงสามัคคีกันเถิด ” “ ข้าไม่สามัคคีกับพวกพูดเท็จหรอก ” “ ข้าก็ไม่อยากดีด้วยกับพวกทำผิดพระวินัยหรอก ” พระศาสดาทรงส่งภิกษุ
ไปถึงสองครั้งด้วยกัน แต่ก็ไม่อาจทำให้เหล่าภิกษุนั้นสามัคคีกันได้ ในครั้งที่สามทรงเสด็จไปยังสำนักของภิกษุเหล่านั้น ตรัสโทษในการยกโทษของพวกภิกษุ
ผู้ยกโทษ และในการไม่เห็นอาบัติของพวกภิกษุเหล่านี้ แล้วเสด็จหลีกไป
 
เมืองพาราณสีในการปกครองของพระเจ้าพรหมทัตซึ่งเรืองอำนาจมีเหล่าทหารมากมาย    

เมืองพาราณสีในการปกครองของพระเจ้าพรหมทัตซึ่งเรืองอำนาจมีเหล่าทหารมากมาย
 
        พระศาสดาทรงบัญญัติวัตรในโรงภัตให้ภิกษุทั้งหลายพึงนั่งในอาสนะที่มีอาสนะอื่นคั่นในระหว่างแก่ภิกษุเหล่านั้นเพื่อทำอุโบสถกรรมเป็นต้นสีมาเดียวกัน
ณ โฆสิตาราม แต่ก็ยังเกิดปัญหาขัดแย้งระหว่างภิกษุอยู่เช่นเคย พระศาสดาจึงตรัสเตือนภิกษุทั้งหลาย “ อย่าเลยภิกษุทั้งหลาย อย่าร้าวรานกันเลย

พระเจ้ากาสีพระนามว่าพระเจ้าพรหมทัตผู้มากด้วยราชสมบัติและไพร่พล
 
พระเจ้ากาสีพระนามว่าพระเจ้าพรหมทัตผู้มากด้วยราชสมบัติและไพร่พล
  
        “ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเช่นนี้เคยมีมาแล้วในเมืองพาราณสี ” เมื่อตรัสดังนั้นแล้วพระศาสดาจึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาดังนี้ ในอดีตกาลพระนครพาราณสี
ได้มีพระเจ้ากาสีพระนามว่า พรหมทัต ทรงเป็นกษัตริย์มั่งคั่งทั้งพระราชสมบัติและไพร่พลมาก ส่วนพระเจ้าโกศลพระนามทีฆีติทรงเป็นกษัตริย์ขัดสน
มีพระราชสมบัติน้อย และมีไพร่พลน้อย
 
พระเจ้าทีฆีตีและมเหสีทรงเสด็จออกจากพระราชวังเพื่อหลบหนีทัพของพระเจ้าพรหมทัต
 
พระเจ้าทีฆีตีและมเหสีทรงเสด็จออกจากพระราชวังเพื่อหลบหนีทัพของพระเจ้าพรหมทัต
 
        ครั้งนั้นพระเจ้าพรหมทัตต้องการยึดราชสมบัติของพระเจ้าทีฆีติ เมื่อพระเจ้าทีฆีติทรงทราบ จึงหลบหนีออกจากพระนคร “ พระเจ้าพรหมทัตยกทัพมาแล้ว
เราคงไม่อาจต้านทัพไว้ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ เรารีบหนีดีกว่า ” พระเจ้าทีฆีติและพระมเหสีเสด็จหนีออกจากพระนครไปยังพระนครพาราณสี
 
พระมเหสีได้คลอดพระโอรสพระนามทีฆาวุราชกุมาร
 
พระมเหสีได้คลอดพระโอรสพระนามทีฆาวุราชกุมาร
 
        ทรงปลอมแปลงพระองค์ไม่ให้ใครรู้จัก ทรงนุ่งห่มเยี่ยงปริพาชก ครั้นต่อมาไม่นานพระมเหสีก็ทรงตั้งพระครรภ์และให้กำเนิดราชโอรสนาม ทีฆาวุ “ ทีฆาวุกุมารลูกแม่
เจ้าต้องมาลำบากต่างเมืองพร้อมกับพ่อแม่ เพราะพระเจ้าพรหมทัตแท้ ๆ เลย ” เมื่อทีฆาวุราชกุมารเจริญวัยขึ้น พระเจ้าทีฆีติทรงดำริให้พระราชกุมารหลบซ่อนตัวอยู่นอก
พระนคร ด้วยเกรงว่าพระเจ้าพรหมทัตจะส่งทหารมาเอาชีวิต

พระเจ้าทีฆีติได้ส่งราชกุมารออกไปหลบซ่อนตัวอยู่นอกพระนคร
 
พระเจ้าทีฆีติได้ส่งราชกุมารออกไปหลบซ่อนตัวอยู่นอกพระนคร
 
        “ ลูกพ่อ เจ้าจงหนีไปซ่อนตัวอยู่นอกพระนครเถิด หากพระเจ้าพรหมทัตส่งคนมาฆ่าเรา เจ้าจะได้ปลอดภัย ” ทีฆาวุราชกุมารหลบอยู่นอกพระนครไม่นานนัก
ก็ได้ศึกษาศิลปะสำเร็จทุกสาขา เมื่อทราบข่าวว่าพระบิดาและพระมารดาถูกจับแห่ประจานรอบเมือง ก็คิดจะไปช่วย “ เสด็จพ่อเสด็จแม่ ข้าต้องช่วยพวกท่านให้ได้ ”

พระเจ้าทีฆีติและพระมเหสีถูกพระเจ้าพรหมทัตแห่ประจานรอบเมือง
 
พระเจ้าทีฆีติและพระมเหสีถูกพระเจ้าพรหมทัตแห่ประจานรอบเมือง
 
       ครั้นทีฆาวุราชกุมารเข้าไปสู่พระนครพาราณสี ก็ได้ทอดพระชนกพระชนนีถูกจับมัดอยู่ จึงเดินรี่เข้าไปหา พระเจ้าทีฆีติเห็นพระราชกุมารเสด็จพระดำเนินมาแต่ไกล
ก็ตรัสห้ามไว้ถึง 3 ครั้ง “ พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว เจ้าอย่าเห็นแก่สั้น เวรทั้งหลายย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่ย่อมระงับได้เพราะไม่จองเวร ”
 
พระเจ้าทีฆีติได้ตรัสห้ามลูกชายให้หนีไปอย่าได้เข้ามาช่วยเหลือตน
 
พระเจ้าทีฆีติได้ตรัสห้ามลูกชายให้หนีไปอย่าได้เข้ามาช่วยเหลือตน
 
       เมื่อได้สติ ทีฆาวุราชกุมารก็หลบหนีไป ต่อมาพระราชกุมารได้ไปอาศัยอยู่ที่โรงช้างใกล้พระราชวัง คืนหนึ่งขณะที่ทีฆาวุราชกุมาร ทรงขับร้องและดีดพิณขับครอ
เสียงเจื้อยแจ้วอยู่ที่โรงช้าง พระเจ้าพรหมทัตได้ทรงสดับก็พอพระทัยรับสั่งให้ทหารเรียกตัวมาเข้าเฝ้า “ เสียงเพลงนี้ช่างไพเราะยิ่งนัก ทหารจงนำตัวผู้เล่นเพลงนี้
มาพบเราเดี๋ยวนี้ ”

ทีฆาวุราชกุมารทรงดีดพิณ ณ โรงเลี้ยงช้างซึ่งใกล้พระราชวัง
 
ทีฆาวุราชกุมารทรงดีดพิณ ณ โรงเลี้ยงช้างซึ่งใกล้พระราชวัง
 
        พระเจ้าพรหมทัตทรงพอใจทีฆาวุราชกุมาร ทรงแต่งตั้งทีฆาวุราชกุมารในตำแหน่งผู้ไว้วางพระราชหฤทัยใกล้ชิดคนสนิทภายใน “ เรารู้สึกถูกชะตากับเจ้ายิ่งนัก
ต่อไปเจ้าจงมาอยู่รับใช้เราเถิด ” “ เป็นพระมหากรุณาธิคุณพระเจ้าค่ะ ” อยู่มาวันหนึ่งพระเจ้าพรหมเสด็จไปล่าเนื้อโดยทีฆาวุราชกุมารเป็นผู้ขับราชรถ
 
พระเจ้าพรหมทัตทรงแต่งตั้งทีฆาวุราชกุมารในตำแหน่งคนสนิทภายใน
 
พระเจ้าพรหมทัตทรงแต่งตั้งทีฆาวุราชกุมารในตำแหน่งคนสนิทภายใน
 
        ครั้นถึงทางแยกหนึ่งทีฆาวุราชกุมารก็ขับราชรถแยกจากขบวนตามเสด็จไปอีกทางหนึ่งแล้วจึงหยุดพัก “ เจ้าจงหยุดก่อน เราเหนื่อยแล้วต้องการจะหยุดพัก ”
พระเจ้าพรหมทัตบรรทมอยู่บนตักของทีฆาวุราชกุมารครู่เดียวก็บรรทมหลับด้วยความเหนื่อยล้า ขณะนั้นทีฆาวุราชกุมารคิดถึงความหลังที่พระเจ้าพรหมทัต
 
พระเจ้าพพรหมทัตทรงเสด็จไปล่าเนื้อในป่า
 
พระเจ้าพพรหมทัตทรงเสด็จไปล่าเนื้อในป่า
 
        ปลงพระชนพระชนกพระชนนี จึงชักพระแสงขรรค์ออกจากฝักหมายจะล้างแค้น “ เจ้าคนชั่วช้า หารู้ตัวไม่ว่าเจ้ากำลังหลับอยู่บนตักของศัตรู ดีหล่ะ
วันนี้เรามีโอกาสล้างแค้นแล้ว ” ก่อนที่ทีฆาวุราชกุมารจะลงมือสังหารพระเจ้าพรหมทัตนั้น ทรงนึกถึงพระราชดำรัสของพระชนกจึงยั้งพระทัยไว้
เป็นอยู่อย่างนั้นถึง 3 ครั้ง
 
ทีฆาวุราชกุมารชักพระขรรค์หมายจะฆ่าพระเจ้าพรหมทัตซึ่งบรรทมหลับอยู่บนตักของตน
 
ทีฆาวุราชกุมารชักพระขรรค์หมายจะฆ่าพระเจ้าพรหมทัตซึ่งบรรทมหลับอยู่บนตักของตน
 
         (…..พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว เจ้าอย่าเห็นแก่สั้น เวรทั้งหลายย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่ย่อมระงับได้เพราะไม่จองเวร) พระเจ้าพรหมทัตที่บรรทมหลับ
อยู่นั้นทรงสุบินว่า ถูกทีฆาวุราชกุมารฟันด้วยพระแสงขรรค์ก็สะดุ้งตื่น แล้วทรงเล่าความฝันให้ทีฆาวุราชกุมารฟัง “ เราฝันว่าถูกพระโอรสของพระเจ้าทีฆีติฟันด้วย
พระแสงขรรค์น่ากลัวจริง ๆ ”
 
ทีฆาวุราชกุมารนึกถึงคำของบิดาเลยเปลี่ยนใจไม่ฆ่าพระเจ้าพรหมทัต
 
ทีฆาวุราชกุมารนึกถึงคำของบิดาเลยเปลี่ยนใจไม่ฆ่าพระเจ้าพรหมทัต
 
        ทันใดนั้นทีฆาวุราชกุมารจับพระเศียรของพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชด้วยพระหัตถ์ซ้าย ชักพระแสงขรรค์ด้วยพระหัตถ์ขวาแล้วได้กล่าวคำขู่แก่พระเจ้าพรหมทัต
กาสิกราช “ ข้านี่แหละ ทีฆาวุราชกุมาร โอรสของพระเจ้าทีฆีติคนนั้น พระองค์ทรงก่อความฉิบหายแก่พวกข้ามากมายนัก ”
 
 
พระเจ้าพรหมทัตฝันว่าโอรสของพระเจ้าทีฆีติจะฆ่าตน
 
พระเจ้าพรหมทัตฝันว่าโอรสของพระเจ้าทีฆีติจะฆ่าตน
 
        พระเจ้าพรหมทัตกลัวถูกปลงพระชนจึงซบพระเศียรลงแทบพระยุคลบาทของทีฆาวุราชกุมาร แล้วตรัสวิงวรของชีวิต “ เราผิดไปแล้ว อย่าฆ่าเราเลย
ไว้ชีวิตเราด้วยเถิด ” “ หม่อมฉันไม่อาจเอื้อมหรอกพระเจ้าค่ะ พระองค์ต่างหากควรไว้ชีวิตหม่อมฉัน ” “ ถ้าเช่นนั้นเจ้าก็จงเอาชีวิตเรา แล้วเราจะไว้ชีวิตเจ้า ”
 
พระเจ้าพรหมทัตได้ร้องขอชีวิตตนต่อทีฆาวุราชกุมาร
 
พระเจ้าพรหมทัตได้ร้องขอชีวิตตนต่อทีฆาวุราชกุมาร
 
       ครั้งนั้นพระเจ้าพรหมทัตและทีฆาวุราชกุมารต่างได้ให้ชีวิตแก่กันและกันได้จับพระหัตถ์กันและสาบานว่าจะไม่ทำร้ายกันอีกต่อไป ลำดับนั้นพระศาสดา
ได้ตรัสพระธรรมเทศนาจบจึงทรงให้โอวาทเหล่าภิกษุเหล่านั้น “ดูกร ภิกษุทั้งหลายขันติโสรัจจะเห็นปานนี้ได้มีแล้วแก่พระราชาเหล่านั้น ผู้ถืออาชญา
 
พระเจ้าพรหมทัตและทีฆาวุราชกุมารได้ให้ชีวิตแก่กันและกัน
 
พระเจ้าพรหมทัตและทีฆาวุราชกุมารได้ให้ชีวิตแก่กันและกัน
 
        ผู้ถือศาสตราวุธ ก็การที่พวกเธอบวชในธรรมวินัยอันเรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ จะพึงอดทนและสงบเสงี่ยมนั้นก็จะพึงงามในธรรมวินัยนี้แน่ ” พระศาสดาให้โอวาท
ถึง 3 ครั้ง แต่ภิกษุเหล่านั้นหาได้เลิกทะเลาะกันไม่ พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า โมฆบุรุษเหล่านี้หัวดื้อนักแล เราจะให้โมฆบุรุษเหล่านี้เข้าใจกันทำไม่ได้ง่ายเลย 

พระศาสดาทรงให้โอวาทแก่เหล่าภิกษุถึง 3 ครั้งด้วยกัน
 
พระศาสดาทรงให้โอวาทแก่เหล่าภิกษุถึง 3 ครั้งด้วยกัน
 
       ดังนี้แล้วเสด็จลุกจากพระพุทธอาสน์กลับไปครั้นเวลาเช้าหลังจากเสด็จบิณฑบาตในพระนครโกสัมพีแล้ว ก็เสด็จไปยังป่าริไรยกไพรสนประทับอยู่ ณ ที่นั้น
ตลอด 3  เดือน แล้วเสด็จไปเมืองสาวัตถีโดยไม่เสด็จมาเมืองโกสัมพีอีก พวกอุบาสกชาวเมืองโกสัมพีเห็นดังนั้นก็โทษภิกษุเหล่านั้น

หลังจบพุทธโอวาทเหล่าภิกษุก็ยังคงทะเลาะกันไม่เลิกรา
 
หลังจบพุทธโอวาทเหล่าภิกษุก็ยังคงทะเลาะกันไม่เลิกรา
 
       ทีทำให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงไปเสีย จึงร่วมกันไม่กราบไหว้และไม่ถวายบิณฑบาตแก่ภิกษุเหล่านั้น “ ภิกษุเหล่านี้ทำให้พระศาสดาระอาพระทัยจนจากเมือง
ของเราไป ” “ ต่อไปพวกเราอย่าได้ไปกราบไหว้ภิกษุพวกนี้อีกนะ ” “ พวกเราจะไม่ถวายบิณฑบาตด้วยทำแบบนี้ ภิกษุเหล่านี้จะได้สำนึกเสียบ้าง”
 
พระพุทธองค์ทรงเสด็จไปเมืองสาวัตถีโดยไม่เสด็จกลับมาที่เมืองโกสัมพีอีก
 
พระพุทธองค์ทรงเสด็จไปเมืองสาวัตถีโดยไม่เสด็จกลับมาที่เมืองโกสัมพีอีก
 
        เมื่อภิกษุเหล่านั้นถูกพวกอุบาสกลงทัณกรรมเช่นนั้นจึงสำนึกได้ พากันไปยังเมืองสาวัตถีกราบทูลขอขมาโทษต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระศาสดา
ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า
 
เหล่าสาธุชนพากันงดใส่บาตรเหตุเพราะภิกษุสงฆ์ทำให้พระศาสดาต้องจากเมืองโกสัมพีไปยังเมืองอื่น
 
เหล่าสาธุชนพากันงดใส่บาตรเหตุเพราะภิกษุสงฆ์ทำให้พระศาสดาต้องจากเมืองโกสัมพีไปยังเมืองอื่น
 
 
พระราชบิดาในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระเจ้าสุทโธทนมหาราช
พระราชมารดาในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระมหามายา
ทีฆาวุกุมารในครั้งนั้น ได้มาเป็น เราตถาคต ฉะนี้แล


รับชมคลิปวิดีโอ
ชมวิดีโอ   Download ธรรมะ
 
 




พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ธัมมัทธชชาดก ชาดกว่าด้วยพูดอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง
      เกฬิสีลชาดก ชาดกว่าด้วยปัญญาสำคัญกว่าร่างกาย
      ปานียชาดก ชาดกว่าด้วยการทำบาปแล้วรังเกียจบาปที่ทำ
      ชนสันธชาดก ชาดกว่าด้วยเหตุที่ทำจิตให้เดือดร้อน
      ฆตาสนชาดก ชาดกว่าด้วยภัยที่เกิดจากที่พึ่ง
      มหาสุวราชชาดก ชาดกว่าด้วยความพอเพียง
      ฌานโสธนชาดก ชาดกว่าด้วยสุขเกิดจากสมาบัติ
      สุนักขชาดก ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้
      สังวรมหาราชชาดก ชาดกว่าด้วยพระราชาผู้มีศีลาจารวัตรที่ดีงาม
      อสัมปทานชาดก ชาดกว่าด้วยการไม่รับของทำให้เกิดการแตกร้าว
      สัจจังกิรชาดก ชาดกว่าด้วยไม้ลอยน้ำดีกว่าคนอกตัญญู
      สัมโมทมานชาดก ชาดกว่าด้วยพินาศเพราะทะเลาะกัน
      อภิณหชาดก ชาดกว่าด้วยการเห็นกันบ่อยๆ